วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16 วันพุธที่ 2 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16  วันพุธที่ 2 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
วันนี้มาเรียนพ้อมเซก 1 
นำเสนอสื่อ


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันพุธที่ 25 เดือนเมษายน พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15  วันพุธที่ 25 เดือนเมษายน พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

การนำเสนอวิจัยของฉัน
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 
ตัวแปรต้น กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ตัวแปรตาม ทักษะทางคณิตศาสตร์
                1.การบอกตำแหน่ง
       2.การจำแนก
3.การนับ
            4.การรู้ค่าจำนวน
        5.การเพิ่ม-ลด 
เพื่อวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ที่เกิดก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์
การนำเสนอสื่อ

สื่อแผงไข่ของฉันคือเกมต่อตามแต้ม

เกมเรียงสีและตัวเลข

เกมตกปลา

เกมจับคู่สีผลไม้

เกมเรขาคณิตพาเพลิน

ตราชั่ง

เกมยืดหยุ่นให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต

เกมจับคู่สีผลไม้
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันพุธที่ 17 เดือนเมษายน พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14  วันพุธที่ 17 เดือนเมษายน พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์ที่ทำจากแผงไข่พร้อมกับให้คำแนะนำเพื่อให้นักศึกษานำไปปรับแก้ไขเพื่อความสมบูรณ์ของสื่อ

  
แบบทดสอบตอบคำถาม 6 ข้อ เพื่อวัดความรู้และส่งเสริมการเรียน
1.เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
2.การอนุรักษ์ หมายถึง
3.เมื่อไหร่ที่รู้ว่าเด็กผ่านขั้นอนุรักษ์
4.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของเด็ก
5.สาระที่ 6 ประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง มีการกำหนดมาตรฐานหรือไม่
6.คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย จะรู้อะไรบ้าง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันพุธที่ 4 เดือนเมษายน พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13  วันพุธที่ 4 เดือนเมษายน พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์
การนำเสนอวิจัยของ นางสาวสุจิณณา  พาพันธ์ เรื่อง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ขั้นตอนรูปแบบการจัดประสบการณ์ มี 4 ขั้น ตัวอย่างหน่วยเงิน
                                                  ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ  
                                      1.ให้เด็กฟังเสียงเหรียญที่อยู่ในกล่อง
                                      2.เด็กอธิบายลักษณะของสิ่งที่อยู่ในกล่อง
                                      3.เด็กร่วมกันแยกประเภทของเงิน
                                      4.เด็กเลือกเงินคนละ 1 ชนิด 
                                      5.ครูให้คำถามปลายเปิด
                                                  ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน
                                      6.ครูทำกิจกรรมเปิดขายสินค้าราคาถูก 
                                      7.เด็กๆจับกลุ่มเลือกสินค้ามาขาย
                                                  ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัิกิจกรรม
                                      8.นำของมาวางขาย และออกแบบร้านร่วมกัน
                                                  ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน
                                      9.ทำบัญชี ราคาเท่าไหร่

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำสือการสอน
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12  วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
การนำเสนอ
การนำเสนอตัวอย่างการสอนของนางสาวมารีน่า  ดาโร๊ส เรื่อง การสอนเรื่องจำนวนและตัวเลข ครูใช้กระดาษ A4 เขียนตัวเลขให้เด็กตอบ และเขียนเป็นตัวหนังสือให้เด็กสามาระสดได้ เช่น  3  สาม ให้เด็กตอบทีละคน ถ้าเด็กตอบได้ครูก็ชมและให้กำลังใจเด็ก
การนำเสนอบทความของนางสาวสิริวดี  นุเรศรัมย์  เรื่องสอนคณิตจากชีวิตรอบตัว การสอนคณิตศาสตร์เบื้องต้นให้ลูกสามารถได้จากสิ่งรอบตัว
-สอนเรื่องตัวเลข ได้จาก นาฬิกา ปฏิทิน  เบอร์โทร อายุ เลขทะเบียน การนับ
-สอนเรื่องขนาด/ปริมาณ/น้ำหนัก  ได้จาก น้ำหนัก-ส่วนสูง การทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ ปริมาณใส่ปุ๋ยปริมาณน้ำ
-สอนเรื่องตำแหน่ง ได้จาก การปฏิบัติตามคำสั่ง บน-ล่าง ซ้าย-ขวา
-สอนเรื่องกลางวัน-กลางคืน ได้จาก กิจวัตรประจำวัน กลางคืนทำอะไร กลางวันทำอะไร
-สอนเรื่องวัน เดือน ปี ได้จาก เทศกาล งานต่างๆ
-สอนเรื่องการใช้เงิน ได้จาก การนับจำนวนเงินจับจ่ายซื้อของ การไปตลาด และเวลาเล่นของเล่น
การนำเสนอบทความของนางสาวสุพรรณิการ์  สุขเจริญ เรื่อง สอนลูกเรื่องจำนวนการนับตัวเลข 
วิธีการ
1.จัดบรรยากาศของบ้านให้มีตัวเลขให้ลูกเห็นผ่านตา เช่น นาฬิกา ปฏิทิน
2.เล่นนับอวัยวะในร่างกาย เช่น คนมี 1 ปาก 2 หู  2 ขา 2 แขน เป็นต้น
3.เล่านิทานที่มีเรื่องจำนวน ตัวเลข และการนับให้ลูกฟัง เช่น ลูกหมู 3 ตัว  มด 10 ตัว เป็นต้น
 การนำเสนอวิจัยของนางสาวสุภาภรณ์   วัดจัง เรื่องการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวความคิดไฮสโคป เน้น เรื่องการลงมือกระทำ เริ่มตั้งแต่เด็กเป็นคนเลือกเรื่องที่จะเรียน มี 3 ขั้นตอนคือ  1.plan    2. do  3. reviwe  ทำให้เกิดกระบวนการใช้ในการทำกิจกรรมเสรี 1.วางแผน 2.ทำ 3.พูดคุย สนุกสนาน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์
จับคู่คิดสื่อที่สอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยทำจากแผงไข่

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11  วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์



วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10  วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

นางสาวชานิศา หุ้ยหั่น นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมอนเตสซอรี่ได้ดังนี้
หลักการของการสอนแบบมอนเตสซอรี่
    1. พัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการ ตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
    2. ในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ขวบ เป็นช่วงที่จิตซึมซับสิ่งแวดล้อมโดยไร้ความรู้สึก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การมองเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การดมกลิ่น และการสัมผัส เด็กใช้จิตในการหาความรู้
    3. การเรียนรู้ในระยะแรกของชีวิต เป็นช่วงพัฒนาสติปัญญา เด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้ดี ครูต้องช่างสังเกต และใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ในการจัดการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ที่สุด
    4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่าง มีจุดหมาย มีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความคิดของตนเอง
    5. เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้ระเบียบวินัยของชีวิต มีอิสระภาพในการทำงานและแก้ไขข้อบกพร่องเด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง ลดวิธีการให้ครูเป็นศูนย์กลาง แต่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนเพิ่มขึ้น


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์


นางสาววิจิตรา ปาคำ นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่อง กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวเด็ก
นำสิ่งที่เด็กรู้จักในท้องถิ่นมาสอนคณิตศาสตร์เช่น ปู
กิจกรรมเสริมประสบการณ์นำใบไม้ที่หล่นบนพื้นรอบต้นไม้มาเปรียบเทียบให้เด็กแบ่งออกเป็น2กองโดยครูตั้งเงื่อนไขเช่นแบ่งให้กองหนึ่งมากกว่าอีกกองหนึ่งให้เด็กรู้มากกว่าน้อยกว่า
กิจกรรมสร้างรรรค์ การร้อยใบไม้
                                  พิมพ์ภาพจากใบไม้
                                  ตัดปะใบไม้บนตัวเลขในกระดาษ
กิจกรรมเสรี นับจำนวนถั่วตามตัวเลข
กิจกรรมกลางแจ้ง กระต่ายวิ่งเก็บของ วิ่งจับสิ่งของ5สิ่งมาใส่ในตระกร้า
เกมการศึกษา ก้อนหินหรรษา เรียงหิน ขาว แดง จับคู่1ต่อ 1เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านสิ่งที่อยู่รอบตัว


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์

นาวสาวปรางทอง สุริวงค์ นำเสนอวิจัยเรื่องทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
เด็กได้การเปรียบเทียบ การจับคู่ การนับ ผักชุปแป้งทอด จับคู่ผักตามรูปทรง ถามเด้กว่าผักแต่ละชนิดมีสีเหมือนกันไหม การหั่นแครอท แบ่งขนาดในการหั่น สามารถสอนเด็กได้ว่า แบ่งได้กี่ชั้น รูปทรงอะไร สามารถนำไปประยุกต์สอนได้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9  วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์ สาระการเรียนรู้คณิตศาตร์



ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ  ในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย  และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน  จึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย  

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
จำนวนนับ หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า...เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับจำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน  จะมีค่าเท่ากัน  มากกว่ากัน  
หรือ น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว 
การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก  หรือจากมากไปหาน้อย
สาระที่  2  การวัด
การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆ เงินเหรียญและธนบัตรเป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น ช่วงใหญ่ๆ คือ  กลางวันและกลางคืน
  เช้า  เที่ยง  เย็น  เมื่อวาน  วันนี้  พรุ่งนี้  เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ1 สัปดาห์มี 7วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์  วันจันทร์  วันอังคาร  วันพุธ  วันพฤหัสบดี  วันศุกร์  และวันเสาร์
สาระที่ 3 เรขาคณิต
การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก  และรูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม 
รูปสี่เหลี่ยม  ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป
สาระที่  4  พีชคณิต
แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด  ของจำนวนรูปเรขาคณิต  หรือสิ่งต่างๆ

สาระที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย  โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ
อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์