วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10  วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

นางสาวชานิศา หุ้ยหั่น นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมอนเตสซอรี่ได้ดังนี้
หลักการของการสอนแบบมอนเตสซอรี่
    1. พัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการ ตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
    2. ในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ขวบ เป็นช่วงที่จิตซึมซับสิ่งแวดล้อมโดยไร้ความรู้สึก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การมองเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การดมกลิ่น และการสัมผัส เด็กใช้จิตในการหาความรู้
    3. การเรียนรู้ในระยะแรกของชีวิต เป็นช่วงพัฒนาสติปัญญา เด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้ดี ครูต้องช่างสังเกต และใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ในการจัดการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ที่สุด
    4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่าง มีจุดหมาย มีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความคิดของตนเอง
    5. เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้ระเบียบวินัยของชีวิต มีอิสระภาพในการทำงานและแก้ไขข้อบกพร่องเด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง ลดวิธีการให้ครูเป็นศูนย์กลาง แต่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนเพิ่มขึ้น


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์


นางสาววิจิตรา ปาคำ นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่อง กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวเด็ก
นำสิ่งที่เด็กรู้จักในท้องถิ่นมาสอนคณิตศาสตร์เช่น ปู
กิจกรรมเสริมประสบการณ์นำใบไม้ที่หล่นบนพื้นรอบต้นไม้มาเปรียบเทียบให้เด็กแบ่งออกเป็น2กองโดยครูตั้งเงื่อนไขเช่นแบ่งให้กองหนึ่งมากกว่าอีกกองหนึ่งให้เด็กรู้มากกว่าน้อยกว่า
กิจกรรมสร้างรรรค์ การร้อยใบไม้
                                  พิมพ์ภาพจากใบไม้
                                  ตัดปะใบไม้บนตัวเลขในกระดาษ
กิจกรรมเสรี นับจำนวนถั่วตามตัวเลข
กิจกรรมกลางแจ้ง กระต่ายวิ่งเก็บของ วิ่งจับสิ่งของ5สิ่งมาใส่ในตระกร้า
เกมการศึกษา ก้อนหินหรรษา เรียงหิน ขาว แดง จับคู่1ต่อ 1เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านสิ่งที่อยู่รอบตัว


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์

นาวสาวปรางทอง สุริวงค์ นำเสนอวิจัยเรื่องทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
เด็กได้การเปรียบเทียบ การจับคู่ การนับ ผักชุปแป้งทอด จับคู่ผักตามรูปทรง ถามเด้กว่าผักแต่ละชนิดมีสีเหมือนกันไหม การหั่นแครอท แบ่งขนาดในการหั่น สามารถสอนเด็กได้ว่า แบ่งได้กี่ชั้น รูปทรงอะไร สามารถนำไปประยุกต์สอนได้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9  วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์ สาระการเรียนรู้คณิตศาตร์



ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ  ในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย  และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน  จึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย  

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
จำนวนนับ หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า...เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับจำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน  จะมีค่าเท่ากัน  มากกว่ากัน  
หรือ น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว 
การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก  หรือจากมากไปหาน้อย
สาระที่  2  การวัด
การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆ เงินเหรียญและธนบัตรเป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น ช่วงใหญ่ๆ คือ  กลางวันและกลางคืน
  เช้า  เที่ยง  เย็น  เมื่อวาน  วันนี้  พรุ่งนี้  เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ1 สัปดาห์มี 7วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์  วันจันทร์  วันอังคาร  วันพุธ  วันพฤหัสบดี  วันศุกร์  และวันเสาร์
สาระที่ 3 เรขาคณิต
การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก  และรูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม 
รูปสี่เหลี่ยม  ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป
สาระที่  4  พีชคณิต
แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด  ของจำนวนรูปเรขาคณิต  หรือสิ่งต่างๆ

สาระที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย  โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ
อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์
จึงไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7  วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์

นำเสนอบทความตามที่เพื่อนได้รับหมอบหมาย และสอนเกี่ยวกับเรื่องกิจกรรม 6 กิจกรรมที่เด็กควรได้รับ


นางสาวกิ่งแก้ว ทนนำ ได้ออกมานำเสนอตัวอย่างการสอน
เรื่อง รูปทรงแปลงร่าง รายการ ป.ปลาตากลม


นางสาววสุธิดา คชชา ได้ออกมานำเสนอบทความ
เรื่อง สอนคณิตอย่างไรให้สนุก

กิจกรรม 6 กิจกรรมที่เด็กควรได้รับ มีดังนี้ 
   1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ตามจังหวะ
   2.กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปะต่างๆ
   3.กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้เล่นสื่อ เล่นเครื่องเล่นอย่างอิสระ

   4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง
   5.กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียน
   6.กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมที่เล่นแล้วเกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6  วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์
กิจกรรมที่ 1 อาจารย์ให้เพื่อนที่ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับงานที่นำเสนอ ออกมานำเสนองานที่ตนเองได้รับหมอบหมาย


กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้ดูปกหนังสือว่ามีอะไรเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์บ้าง สิ่งที่พวกเพื่อนๆเห็นก็จะมี ตัวเลข รูปร่าง พื้นที่ ขนาดตัวเลขที่แตกต่างกัน เป็นต้น
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมที่ 3 อาจารย์สอนเกี่ยวกับขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์
          1.การนับ
          2.ตัวเลข
          3.การจับคู่
          4.การจัดประเภท
          5.การเปรียบเทียบ
          6.การจัดลำดับ
          7.รูปทรง,เนื้อที่
          8.การวัด
          9.เซต
         10.เศษส่วน
         11.การทำตามแบบหรือลวดลาย
         12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
วันนี้ตรงกับวันวาเลนไทน์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5  วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
วันนี้เลขที่ 4 5 6 ออกไปนำเสนองานที่ได้รับหมอบหมายไว้ หลังจากที่นำเสนอครบทั้ง 3 คน อาจารย์ก็ได้แจกกระดาษแผ่นเล็กมาเพื่อให้นักศึกษาเขียนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ตามจำนวนของกระดาษที่มีมากคนอยู่ห้า และได้สำรวจคนที่ชอบกินส้มตำกับลาบไก่อันไหนมีจำนวนคนชอบกินมากกว่ากัน

คือการจับคู่แบบ 1:1 สิ่งไหนหมดก่อนแสดงว่าคนที่ชอบสิ่งนั้นน้อยกว่า


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์

จากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรมคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกแห่งหน (ให้เขียนลงในกระดาษ)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4  วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ.2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์
ต้นคาบอาจารย์ได้ตรวจดูบล็อคของแต่ละคนและให้ไปแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด หลังจากนั้นอาจารย์ให้เพื่อนเลขที่ 1-3 มานำเสนอ บทความ วิจัย ตัวอย่างการสอน 


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

หลังจากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษ แล้วให้พับเป็น 2 ส่วน จะออกมาในลักษณะไหนก็ได้ และอาจารย์ได้อธิบายว่า ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสาร และคณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหา และหาคำตอบได้
หลายวิธี 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตกแต่งพาวเวอร์พอยท์